วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

คำสั่ง sql

คำสั่ง ให้นักเรียนทำเครื่องหมายกากบาท(X)ทับข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว

1.ข้อใดไม่ใช่ระบบปฏิบัติการที่นำมาใช้บนอุปกรณ์พกพา
ประเภท  Smartphone.
1.  Ubumtu       2.  Iphone  os
3.  Android      4.  Symbian
เฉลยข้อ  1
2.ไฟล์ประเภทใดในข้อต่อไปนี้เก็บข้อมูลในลักษณะตัวอักษร.
1.  ไฟล์เพลง  MP 3 (mp 3)
2.  ไฟล์รูปประเภท  JPEG (jpeg)
3.  ไฟล์แสดงผลหน้าเว็บ (html)
4.  ไฟล์วีดีโอประเภท  Movie (movie)
เฉลยข้อ  3
3.ลิขสิทธิ์โปรแกรมประเภทรหัสเปิด(Open Source)อนุญาต
ให้ผู้ใช้ทำอะไรได้บ้าง.
ก.  นำโปรแกรมมาใช้งานโดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์
ข.  ทดลองใช้โปรแกรมก่อนถ้าพอใจจึงจ่ายค่าลิขสิทธิ์
ค.  แก้ไขปรับปรุงโปรแกรมเองได้
1.  ข้อ  ก กับ  ข้อ        2.  ข้อ    กับ  ข้อ 
3.  ข้อ    อย่างเดียว     4.  ข้อ    อย่างเดียว
เฉลยข้อ  4
4.ระบบกระดานสนทนาหรือเว็บบอร์ดแห่งหนึ่งมีความต้องการดังนี้
ก.  ต้องให้ผู้ใช้สามารถตั้งกระทู้โต้ตอบกันได้โดยผู้ใช้
ต้องแสดงตัวตน(ล็อกอิน)เพื่อเข้าระบบก่อน
ข.  ผู้ใช้สามารถตั้งกระทู้หรือเข้าไปตอบกระทู้ที่ตั้งไว้แล้วได้
ค.  ระบบจะบันทึกชื่อผู้ตั้งและผู้ตอบไว้ด้วย
ในการออกแบบฐานข้อมูลดังกล่าวข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง.
1.  ต้องสร้างตารางผู้ใช้ ตารางกระทู้และตารางคำตอบ
2.  ไม่ต้องสร้างตารางผู้ใช้เนื่องจากสามารถบันทึกชื่อ
ผู้ใช้ในตารางกระทู้และตารางคำตอบได้เลย
3.  ต้องสร้างตารางผู้ใช้และตารางกระทู้ส่วนคำตอบจะอยู่
ในตารางกระทู้อยู่แล้ว
4.  ไม่ต้องสร้างตารางกระทู้เพราะสามารถบันทึกกระทู้ที่ผู้ใช้
ตั้งในตารางผู้ใช้ได้เลย
เฉลยข้อ  4
5.อุปกรณ์ข้อใดคือหน่วยประเมินผลกลางของคอมพิวเตอร์.
เฉลย  CPU
5.ข้อใดเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักวิชาการเมื่อค้นคว้า
หาข้อมูลจากอินเทอร์เนตมาทำรายงาน.
1.  คัดลอกเนื้อหาจากเว็บไซต์
2.  ใช้เนื้อหาจากกระดานสนทนา(Web board)มาใส่ในรายงาน
3.  นำรูปภาพจากเว็บไซต์มาใส่ในรายงาน
4.  อ้างอิงชื่อผู้เขียนบทความ
เฉลยข้อ  4
6.ห้องสมุดแห่งหนึ่งต้องการพัฒนาระบบยืมหนังสือโดยสามารถ
บันทึกข้อมูลการยืมหนังสือลงบนบัตรอิเล็คโทรนิกส์โดยไม่ต้อง
เขียนด้วยมือระบบนี้ควรใช้เทคโนโลยีในข้อใด.
1.  Smart  Card          2.  Fingerprint
3.  Barcode                 4.  WiFi
เฉลยข้อ  3
7.ผู้ประกอบอาชีพเป็นผู้พัฒนาเว็บไซต์ต้องเชี่ยวชาญความรู้
ด้านใดบ้างจากตัวเลือกต่อไปนี้.
ก.  ฮาร์แวร์คอมพิวเตอร์       ข.  ระบบปฎิบัติการ
ค.  เว็บเซิร์ฟเวอร์                   ง.  HTML
จ.  ระบบฐานข้อมูล                ฉ.  ภาษาจาวา(Java)
1.  ข้อ  ก และ ค                    2.  ข้อ    และ 
3.  ข้อ    และ                     4.  ข้อ    และ 
เฉลยข้อ  3
8.ข้อใดเป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อข้อมูลไร้สายทั้งหมด.
1.  Wi-Fi  ,  IP              2.  Wi-Fi  ,Bluetooth
3.  3G  ADSL                4.  3G    Ethernet
เฉลยข้อ  2
9.ข้อใดไม่ใช่ข้อเสียของการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์.
1.  การทำผิดกฎหมายลิขสิทธิ์มีความผิดทางอาญา
2.  เป็นช่องทางหนึ่งในการระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์
3.  ผู้ใช้จะไม่ได้รับการบริการจากผู้พัฒนาถ้าหากมีปัญหาการใช้งาน
4.  ทำให้ผู้พัฒนาซอฟแวร์ไม่มีรายได้เพื่อประกอบการและพัฒนาต่อไปได้
เฉลยข้อ  2
10.ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องที่สุด.
1.  การบันทึกข้อมูลลงแผ่นดีวีดีใช้เทคโนโลยีแบบแม่เหล็ก
2.  หมายเลขไอพีเป็นหมายเลขที่ใช้กำกับ  Network Interce Card
3.  หน่วยความจำสำรองเป็นหน่วยความจำที่มีคุณลักษณะแบบ Volntile
4.  รหัส ACIIและEBCIDICเป็นการวางรหัสตัวอักษรที่ใช้ขนาด  8 บิด
เฉลยข้อ  3 



คำสั่ง sql
1.คําสั่ง  CREATE DATABASE
CREATE DATABASE demo
เป็นคําสั่งสร้าง database ชื่อ db_name ขึ้นมาใหม่ในกรณีที่มี database นั้นอยู่แล้ว ก็จะปรากฏข่าวสาร
แสดงความผิดพลาด (Error Message) Can't create database 'demo'. Database exists

2.คําสั่ง DROP DATABASE
DROP DATABASE demo
เป็นคําสั่งลบ database ชื่อ db_name ออกไปจากระบบ

3.คําสั่ง CREATE TABLE
CREATE TABLE phonebook (id INT (4) NOT NULL
AUTO_INCREMENT, fname VARCHAR (35) , lname VARCHAR (35) ,
email VARCHAR (50) , office VARCHAR (200) , province CHAR (2) ,
PRIMARY KEY(id), UNIQUE(id), INDEX(id))


4.คําสั่ง ALTER TABLE
ALTER TABLE phonebook ADD tel VARCHAR(30)
 ALTER TABLE เป็นคําสั่งสําหรับการปรับเปลี่ยนแก้ไขโครงสร้างของตารางข้อมูลเช่น การเพิ่ม-ลบ
ฟิลด์, การสร้าง-ลบดัชนี, การเปลี่ยนประเภทข้อมูลของฟิลด์, การเปลี่ยนชื่อฟิลด์เป็นตอน

5.คําสั่ง RENAME TABLE
RENAME TABLE phonebook to phone
เป็นคําสั่งเพื่อเปลี่ยนชื่อตารางข้อมูลเป็นชื่อใหม่

6.คําสั่ง DROP TABLE
DROP TABLE phonebook
เป็นคําสั่งเพื่อให้ลบตารางข้อมูลออกจากระบบ สําหรับออปชัน RESTRICT และ CASCADE ยังไม่
สามารถงานได้ในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นความสามารถที่มีแผนจะรองรับในอนาคต สําหรับการใช้คําสั่ง DROP
TABLE จะต้องให้ความระมัดระวังในการใช้งานเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะการทํางานกับตารางข้อมูลประเภท nontransaction เพราะจะทําการ commit การทางานโดยอัตโนมัติ

7.คําสั่ง DELETE
DELETE FROM phonebook WHERE id=4
เป็นคําสั่งสําหรับลบข้อมูลจากตาราง โดยสามารถกําหนดเงื่อนไขสําหรับการลบได้ซึ่งถ้าไม่ได้ระบุ
เงื่อนไขจะเป็นการลบข้อมูลทั้งหมดออกจากตารางและถ้าอยู่ใน AUTOCOMMIT mode (กรณีปกติทั่วไป) จะไม่
สามารถทําการยกเลิกการลบครั้งนี้ได้


8.คําสั่ง TRUNCATE
TRUNCATE phonebook
เป็นคําสั่งที่ให้ผลเช่นเดียวกับ DELETE FROM table_name แต่มีข้อแตกต่างดังนี้
- จะทําการดรอปตารางข้อมูลก่อน แล้วทําการสร้างใหม่ซึ่งจะให้ผลที่เร็วกว่าการลบ
ตารางทั้งหมด
- การทํางานเป็น non-transaction ไม่สามารถทําการยกเลิกได้

9.คําสั่ง INSERT
INSERT INTO phonebook (id, fname, lname, email, office, province)
VALUES (6, 'sineenat', 'phradmali', 'sineenat@health.moph.go.th', 'ศทส.', '12')
เป็นคําสั่งสําหรับการเพิ่มแถวข้อมูล หรือระเบียนใหม่เข้าตารางข้อมูล

10.คําสั่ง UPDATE
UPDATE phonebook SET office= 'ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร' WHERE id=6
เป็นคําสั่งเพื่อทําการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในตารางให้เป็นตามที่ต้องการ

ฟังก์ชัน PHP

ฟังก์ชันใน PHP

ฟังก์ชันในโปรแกรมส่วนใหญ่ได้รับการเรียกคำสั่งเพื่อทำงานอย่างเดียว สิ่งนี้ทำให้คำสั่งอ่านได้ง่ายและยอมให้ใช้คำสั่งใหม่แต่ละครั้งเมื่อต้องการทำงานเดียวกัน
ฟังก์ชันเป็นโมดูลเก็บคำสั่งที่กำหนดการเรียกอินเตอร์เฟซ ทำงานเดียวกัน และตัวเลือกส่งออกค่าจากการเรียกฟังก์ชัน คำสั่งต่อไปเป็นการเรียกฟังก์ชันอย่างง่าย
my_function ();
คำสั่งเรียกฟังก์ชันชื่อ my_function ที่ไม่ต้องการพารามิเตอร์ และไม่สนใจค่าที่อาจจะส่งออกโดยฟังก์ชันนี้
ฟังก์ชันจำนวนมากได้รับการเรียกด้วยวิธีนี้ เช่น ฟังก์ชัน phpinfo () สำหรับแสดงเวอร์ชันติดตั้งของ PHP สารสนเทศเกี่ยวกับ PHP การตั้งค่าแม่ข่ายเว็บ ค่าต่างๆ ของ PHP และตัวแปร ฟังก์ชันนี้ไม่ใช้พารามิเตอร์และโดยทั่วไปไม่สนใจค่าส่งออก ดังนั้นการเรียก phpinfo () จะประกอบขึ้นดังนี้
phpinfo ();

การกำหนดฟังก์ชันและการเรียกฟังก์ชัน

การประกาศฟังก์ชันเริ่มต้นด้วยคีย์เวิร์ด function กำหนดชื่อฟังก์ชัน พารามิเตอร์ที่ต้องการ และเก็บคำสั่งที่จะประมวลผลแต่ละครั้งเมื่อเรียกฟังก์ชันนี้
<?php
function function_name(parameter1,…)
{
ชุดคำสั่ง …
}
?>
ชุดคำสั่งต้องเริ่มต้นและสิ้นสุดในวงเล็บปีกกา ({ }) ตัวอย่างฟังก์ชัน my_function
<?php
function my_function()
{
$mystring =<<<BODYSTRING
my function ได้รับการเรียก
BODYSTRING;
echo $mystring;
}
?>
การประกาศฟังก์ชันนี้ เริ่มต้นด้วย function ดังนั้นผู้อ่านและตัวกระจาย PHP ทราบว่าต่อไปเป็นฟังก์ชันกำหนดเอง ชื่อฟังก์ชันคือ my_function การเรียกฟังก์ชันนี้ใช้ประโยคคำสั่งนี้
my_function ();
การเรียกฟังก์ชันนี้จะให้ผลลัพธ์เป็นข้อความ "my function ได้รับการเรียก " บน browser

การตั้งชื่อฟังก์ชัน

สิ่งสำคัญมากในการพิจารณาเมื่อตั้งชื่อฟังก์ชันคือชื่อต้องสั้นแต่มีความหมาย ถ้าฟังก์ชันสร้างส่วนตัวของเพจควรตั้งชื่อเป็น pageheader () หรือ page_header ()
ข้อจำกัดในการตั้งชื่อคือ
  • ฟังก์ชันไม่สามารถมีชื่อเดียวกับฟังก์ชันที่มีอยู่
  • ชื่อฟังก์ชันสามารถมีได้เพียงตัวอักษรตัวเลข และ underscore
  • ชื่อฟังก์ชันไม่สามารถเริ่มต้นด้วยตัวเลข
หลายภาษายอมให้ใช้ชื่อฟังก์ชันได้อีก ส่วนการทำงานนี้เรียกว่า function overload อย่างไรก็ตาม PHP ไม่สนับสนุน function overload ดังนั้นฟังก์ชันไม่สามารถมีชื่อเดียวกันกับฟังก์ชันภายใน หรือฟังก์ชันกำหนดเองที่มีอยู่
หมายเหตุ ถึงแม้ว่าทุกสคริปต์ PHP รู้จักฟังก์ชันภายในทั้งหมด ฟังก์ชันกำหนดเองอยู่เฉพาะในสคริปต์ที่ประกาศสิ่งนี้หมายความว่า ชื่อฟังก์ชันสามารถใช้ในคนละไฟล์แต่อาจจะไปสู่ความสับสน และควรหลีกเลียง
ชื่อฟังก์ชันต่อไปนี้ถูกต้อง
name ()
name2 ()
name_three ()
_namefour ()
ชื่อไม่ถูกต้อง
5name ()
Name-six ()
fopen ()
การเรียกฟังก์ชันไม่มีผลจากชนิดตัวพิมพ์ ดังนั้นการเรียก function_name (), Function_Name() หรือ FUNCTION_NAME() สามารถทำได้และมีผลลัพธ์เหมือนกัน แต่แบบแผนการกำหนดชื่อฟังก์ชันใน PHP ให้ใช้ตัวพิมพ์เล็ก
ชื่อฟังก์ชันแตกต่างจากชื่อตัวแปร โดยชื่อตัวแปรเป็นชนิดตัวพิมพ์มีผล ดังนั้น $Name และ $name เป็น 2 ตัวแปร แต่ Name () และ name () เป็นฟังก์ชันเดียวกัน

การหยุดประมวลผลภายในฟังก์ชัน

คีย์เวิร์ด return หยุดการประมวลผลฟังก์ชัน ฟังก์ชันสิ้นสุดได้เพราะประโยคคำสั่งทั้งหมดได้รับการประมวลผล หรือ ใช้คีย์เวิร์ด return การประมวลผลกลับไปยังประโยคคำสั่งต่อจากการเรียกฟังก์ชัน
<?php
function division($x, $y)
{
if ($y == 0 || !isset($y))
{
echo " ตัวหาร y ต้องไม่เป็นศูนย์หรือไม่มีค่า" ;
return;
}
$result = $x / $y;
echo $result;
}
?>
ถ้าประโยคคำสั่ง return ได้รับการประมวลผล บรรทัดคำสั่งต่อไปในฟังก์ชันจะถูกข้ามไป และกลับไปยังผู้เรียกฟังก์ชันนี้ ในฟังก์ชันนี้ ถ้า y เป็น 0 จะหยุดการประมวลผล ถ้า y ไม่เท่ากับ 0 จะคำนวณผลหาร
สมมติป้อนค่าเป็น
x = 4, y = 0
x = 4
x = 4, y = 2
ผลลัพธ์ของคำสั่ง คือ
x = 4, y = 0 ผลลัพธ์ ตัวหาร y ต้องไม่เป็นศูนย์หรือไม่มีค่า
x = 4, y = ผลลัพธ์ ตัวหาร y ต้องไม่เป็นศูนย์หรือไม่มีค่า
x = 4, y = 2 ผลลัพธ์ 2

การเรียกฟังก์ชัน

เมื่อฟังก์ชันได้รับการประกาศหรือสร้างขึ้นแล้ว การเรียกฟังก์ชันสามารถเรียกมาจากที่ใดๆ ภายในสคริปต์ หรือ จากไฟล์ที่มีการรวมด้วยประโยคคำสั่ง include() หรือ require()
ตัวอย่าง ฟังก์ชัน show_message() เก็บอยู่ในไฟล์ fn_ 03 _keeper.php ส่วนผู้เรียกอยู่ในสคริปต์ fn_ 03 _caller.php
<?php
include("fn_ 03 _keeper.php");
show_message();
?>

พารามิเตอร์

ตามปกติฟังก์ชันส่วนใหญ่ต้องการรับสารสนเทศจากผู้เรียกสำหรับการประมวลผล โดยทั่วไปเรียกว่า พารามิเตอร์

ไวยากรณ์พื้นฐาน

การกำหนดฟังก์ให้รับพารามิเตอร์ส่งผ่านโดยการวางข้อมูล ชื่อตัวแปรที่เก็บข้อมูลภายในวงเล็บหลังชื่อฟังก์ชัน การเรียกฟังก์ชันที่ประกอบด้วยพารามิเตอร์เขียนดังนี้
<?php
function show_parameter($param1, $param2, $param3)
{
echo <<<PARAM
รายการพารามิเตอร์ <br/>
param1: $param1 <br/>
param2: $param2 <br/>
param3: $param3 <br/>
PARAM;
}
?>
พารามิเตอร์ที่ส่งไปยังฟังก์ชันแยกกันเครื่องหมายจุลภาคภายในวงเล็บ โดยสามารถส่งเป็นนิพจน์สำหรับแต่ละพารามิเตอร์ด้วย ตัวแปร ค่าคงที่ ผลลัพธ์จากการคำนวณ รวมถึงการเรียกฟังก์ชัน
scope ของพารามิเตอร์จำกัดภายในฟังก์ชัน ถ้าชื่อตัวแปรเหมือนกับตัวแปรใน scope ระดับอื่น พารามิเตอร์นี้ "ระบุ" เป็นตัวแปรภายในที่ไม่มีผลกับตัวแปรภายนอกฟังก์ชัน

การส่งผ่านโดยค่า(By Value)

ตามปกติการส่งผ่านพารามิเตอร์ไปยังฟังก์ชันเป็นการส่งผ่านค่า การเปลี่ยนแปลงจะจำกัดภายในเฉพาะภายในฟังก์ชัน
ตัวอย่างฟังก์ชัน new_value () ที่ยอมให้เพิ่มค่า อาจจะเขียนคำสั่งดังนี้
<?php
function new_value($value, $increment= 1)
{
$value = $value + $increment;
}
$value = 10 ;
new_value($value);
echo "$value<br/>\n";
?>
คำสั่งนี้ใช้ไม่ได้ ผลลัพธ์จะเป็น "10" ค่าใหม่ของ $value ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
สิ่งนี้เป็นเพราะกฎ scope คำสั่งนี้สร้างตัวแปรเรียกว่า $value เป็น 10 เมื่อเรียกฟังก์ชัน new_value () ตัวแปร $value ในฟังก์ชันได้รับการสร้างเมื่อเรียกฟังก์ชัน ค่า 1 ได้รับการเพิ่มให้กับตัวแปร ดังนั้นค่าของ $value คือ 11 ภายในฟังก์ชัน จนกระทั่งสิ้นสุดฟังก์ชัน แล้วกลับไปยังคำสั่งที่เรียกภายในคำสั่งนี้ ตัวแปร $value เป็นอีกตัวแปร global scope และไม่มีการเปลี่ยนแปลง

การส่งผ่านโดยการอ้างอิง (By Reference)

ตามตัวอย่างฟังก์ชัน new_value ถ้าต้องการให้ฟังก์ชันเปลี่ยนแปลงค่าได้ มีวิธีหนึ่งในการแก้ไขคือ ประกาศ $value ในฟังก์ชันเป็น global แต่หมายความว่าในการใช้ฟังก์ชันนี้ ตัวแปรที่ต้องการเพิ่มค่าต้องตั้งชื่อเป็น $value แต่มีวิธีดีกว่าคือ ใช้การส่งผ่านโดยการอ้างอิง
การอ้างอิงไปตัวแปรต้นทางแทนที่มีค่าของตัวเอง การปรับปรุงไปยังการอ้างอิงจะมีผลกับตัวแปรต้นทางด้วย
การระบุพารามิเตอร์ที่ใช้การส่งผ่านโดยการอ้างอิงให้วาง ampersand (&) หน้าชื่อพารามิเตอร์ในข้อกำหนดฟังก์ชัน
ตัวอย่าง new_value () ได้รับปรับปรุงให้มี 1 พารามิเตอร์ส่งผ่านโดยการอ้างอิงและทำงานได้อย่างถูกต้อง
<?php
function new_value(&$value, $increment=1)
{
$value = $value + $increment;
}
?>
คำสั่งทดสอบฟังก์ชัน ให้พิมพ์ 10 ก่อนการเรียก increment () และ 11 ภายหลัง
ในการส่งค่าโดยการอ้างอิงต้องส่งเป็นตัวแปรไม่สามารถกำหนดค่าคงที่โดยตรง

จำนวนตัวแปรของพารามิเตอร์

การส่งผ่านพารามิเตอร์ไปยังฟังก์ชันนั้น การควบคุมของ PHP ได้กำหนดฟังก์ชันจำนวนหนึ่งให้ยอมรับจำนวนตัวแปรของพารามิเตอร์ ได้แก่ func_num_args, func_get_arg และ func_get_args
func_num_args() บอกจำนวนพารามิเตอร์ไปยังฟังก์ชันที่เรียก func_get_arg() แสดงค่าของพารามิเตอร์ตามดัชนี และ func_get_args() ส่งออก array ของพารามิเตอร์
<?php
function show_pass_value()
{
$idx = count(func_get_args());
echo " จำนวนพารามิเตอร์ $idx <br/>\n";
if ($idx > 0)
    echo ">> ใช้ฟังก์ชัน func_get_arg<br/>\n";
for ($i = 0 ; $i < $idx; $i++)
{
echo " พารามิเตอร์ที่ $i ค่า: ". func_get_arg($i)."<br/>\n";
}
if ($idx > 0)
    echo ">> ใช้ฟังก์ชัน func_get_args<br/>\n";
$params = func_get_args();
foreach ($params as $index => $val)
{
echo " พารามิเตอร์ที่ $index ค่า: $val<br/>\n";
}
echo " *********<br/>\n";
}
$x = 4 ;
show_pass_value("one", "two", 3 , $x, " ห้า" , " หก") ;
show_pass_value();
?>
ผลลัพธ์
จำนวนพารามิเตอร์ 6
>> ใช้ฟังก์ชัน func_get_arg
พารามิเตอร์ที่ 0 ค่า: one
พารามิเตอร์ที่ 1 ค่า: two
พารามิเตอร์ที่ 2 ค่า: 3
พารามิเตอร์ที่ 3 ค่า: 4
พารามิเตอร์ที่ 4 ค่า: ห้า
พารามิเตอร์ที่ 5 ค่า: หก
>> ใช้ฟังก์ชัน func_get_args
พารามิเตอร์ที่ 0 ค่า: one
พารามิเตอร์ที่ 1 ค่า: two
พารามิเตอร์ที่ 2 ค่า: 3
พารามิเตอร์ที่ 3 ค่า: 4
พารามิเตอร์ที่ 4 ค่า: ห้า
พารามิเตอร์ที่ 5 ค่า: หก
*********
จำนวนพารามิเตอร์ 0
*********

Scope

เมื่อต้องการใช้ตัวแปรภายในไฟล์ที่รวม ต้องมีการประกาศตัวแปรเหล่านั้นก่อนประโยคคำสั่ง require () หรือ include () แต่เมื่อใช้ฟังก์ชันจะเป็นการส่งผ่านตัวแปรเชิงประจักษ์เหล่านั้นไปยังฟังก์ชัน บางส่วนเป็นเพราะไม่มีกลไกส่งผ่านตัวแปรเชิงประจักษ์ไปยังไฟล์ที่รวม และบางส่วนเป็นเพราะ scope ของตัวแปรของฟังก์ชันแตกต่างกัน
การควบคุม scope ของตัวแปรเป็นการทำให้ตัวแปรมองเห็นได้ ใน PHP มีกฎตั้งค่า scope ดังนี้
  • การประกาศตัวแปรภายในฟังก์ชันอยู่ใน scope จากประโยคคำสั่งซึ่งตัวแปรให้รับการประกาศภายในวงเล็บปีกกา สิ่งนี้เรียกว่า function scope ตัวแปรเรียกว่า local variable
  • การประกาศตัวแปรภายนอกฟังก์ชันอยู่ใน scope จากประโยคคำสั่งซึ่งตัวแปรได้รับการประกาศที่สิ้นสุดแต่ไม่ใช้ภายในฟังก์ชัน สิ่งนี้เรียกว่า global scope ตัวแปรเรียกว่า global variable
  • การใช้ประโยคคำสั่ง require () และ include () ไม่มีผลกับ scope ถ้าประโยคคำสั่งได้รับการใช้ภายในฟังก์ชัน ประยุกต์ด้วย function scope ถ้าไม่ได้อยู่ภายในฟังก์ชัน ประยุกต์ด้วย global scope
  • คีย์เวิร์ด global สามารถระบุได้เองเพื่อกำหนดหรือใช้ตัวแปรภายในฟังก์ชันให้มี scope เป็น global
  • ตัวแปร สามารถลบโดยการเรียก unset ($variable_name) และตัวแปรที่ unset จะไม่มี scope
  • ตัวแปรระดับ superglobal สามารถเข้าถึงได้ทุกส่วนในสคริปต์

ตัวแปรระดับฟังก์ชัน

ตัวแปรระดับฟังก์ชันหรือ local variable เป็นการประกาศเพื่อใช้เฉพาะภายในฟังก์ชัน ไม่สามารถเรียกจากภายนอกฟังก์ชันได้
<?php
$newline = <<<NLSTRING
<br/>\n
NLSTRING;
$var_global = 10 ;
function show_value()
{
global $newline;
$var_local= 75 ;
echo "\$var_local 1: $var_local";
echo $newline;
}
show_value();
echo "\$var_global : $var_global";
echo $newline;
echo "\$var_local 2: $var_local";
echo $newline;
?>
ผลลัพธ์
$var_global 1 :
$var_local 1: 75
$var_global 2: 10
$var_local 2:
ตามตัวอย่างนี้ ตัวแปรระดับฟังก์ชัน $var_local ไม่สามารถแสดงผลในการพิมพ์ภายนอกฟังก์ชัน show_value() และ $var_global ที่เป็นตัวแปรระดับ global ไม่สามารถแสดงผลภายใน show_value() เพราะมี scope ต่างกัน

ตัวแปรระดับ global

ถ้าต้องการนำตัวแปรระดับ global มาใช้ภายในฟังก์ชันต้องประกาศด้วยคีย์เวิร์ด global ก่อนประโยคคำสั่งที่ใช้ตัวแปรนั้น ตัวอย่าง ฟังก์ชัน show_value() ใช้ $newline จากภายนอกฟังก์ชัน
global $newline;

ตัวแปรสถิตย์

การประกาศตัวแปรสถิตย์ใช้ คีย์เวิร์ด static เมื่อมีการเรียกใช้ฟังก์ชัน โปรแกรมจะกำหนดค่าตัวแปรตามที่ระบุเพียงครั้งเดียว ถ้าเรียกซ้ำอย่างต่อเนื่องค่านี้จะเปลี่ยนแปลงตามการคำนวณ
<?php
function increment()
{
static $increase = 5 ;
$increase++;
echo $increase."<br/>\n";
}
$end = 5 ;
for ($i = 1 ; $i < $end; $i++)
    increment();
?>
ผลลัพธ์
6
7
8
9
ค่าของตัวแปรสถิตย์ได้รับการตั้งทุกครั้งเมื่อเรียกใช้ในครั้งต่อไป

การส่งออกค่าจากฟังก์ชัน

การส่งค่าออกจากฟังก์ชันใช้คีย์เวิร์ด return เช่นเดียวกับการออกจากฟังก์ชันได้ ถ้าไม่มีการระบุส่งออกฟังก์ชันจะส่งค่า NULL
ตัวอย่าง ฟังก์ชัน get_larger () สาธิตการส่งออกค่า
<?
function get_larger($x=NULL, $y=NULL)
{
if (!isset($x) || !isset($y))
    return " ไม่มีการส่งค่า" ;
if ($x > $y)
    return $x;
else if ($x < $y)
    return $y;
else
    return " ค่าเท่ากัน" ;
}
$sends = array();
$sends[0] = array('x' =>5);
$sends[1] = array('x' =>9, 'y'=>3);
$sends[2] = array('x' =>5, 'y'=>8);
$sends[3] = array('x' =>4, 'y'=>4);
foreach ($sends as $send)
{
echo "x = ".$send['x']." y = ".$send['y']." : ค่า - > "
.get_larger($send['x'], $send['y']);
echo "<br/>\n";
}
?>
ผลลัพธ์
x = 5 y = : ค่า - > ไม่มีการส่งค่า
x = 9 y = 3 : ค่า - > 9
x = 5 y = 8 : ค่า - > 8
x = 4 y = 4 : ค่า - > ค่าเท่ากัน
ฟังก์ชันที่ทำงานอาจเดียว แต่ไม่จำเป็นต้องส่งออกค่า มักจะส่งออก TRUE หรือ FALSE เพื่อระบุความสำเร็จหรือล้มเหลว ค่า TRUE หรือ FALSE สามารถได้รับการแสดงแทนด้วย 1 หรือ 0

Recursion

recursion ได้รับการสนับสนุนใน PHP ฟังก์ชันชนิดนี้เป็นการเรียกตัวเองและเป็นประโยชน์กับการบังคับโครงสร้างข้อมูลไดนามิคส์ เช่น รายการเชื่อมโยงและโครงสร้างต้นไม้ (tree)
โปรแกรมประยุกต์เว็บจำนวนไม่มากต้องการโครงสร้างข้อมูลซับซ้อนมากและจำกัดการใช้ เนื่องจาก recursion ช้ากว่าและใช้หน่วยความจำมากกว่าการทำงานวนรอบ ดังนั้นควรเลือกการทำงานแบบวนรอบปกติ ถ้าเป็นไปได้
ตัวอย่างการประยุกต์แบบย้อนกลับตัวอักษร
<?php
function word_reverse_r($str)
{
if (strlen($str)>0)
    word_reverse_r(substr($str, 1));
echo substr($str, 0, 1);
return;
}
function word_reverse_i($str)
{
for ($i=1; $i<=strlen($str); $i++)
{
echo substr($str, -$i, 1);
}
return;
}
?>
รายการคำสั่งของ 2 ฟังก์ชันนี้จะพิมพ์ข้อความย้อนกลับ ฟังก์ชัน word_reverse_r เป็น recursion ฟังก์ชัน word_reverse_i เป็นการวนรอบ
ฟังก์ชัน word_reverse_r ใช้ข้อความเป็นพารามิเตอร์ เมื่อมีการเรียกฟังก์ชันนี้ จะเกิดการเรียกตัวเองแต่ละครั้งส่งผ่านตัวอักษรที่ 2 ไปถึงตัวอักษรสุดท้าย
การเรียกฟังก์ชันแต่ละครั้งจะทำสำเนาใหม่ของคำสั่งในหน่วยความจำของแม่ข่าย แต่ด้วยพารามิเตอร์ต่างกัน ดังนั้นจึงเหมือนกับการเรียกคนละฟังก์ชัน

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ไมโครซอฟท์ แอคเซส (Microsoft Access)

ไมโครซอฟท์ แอคเซส (Microsoft Access)

ไมโครซอฟท์ แอคเซส (อังกฤษ: Microsoft Access) เป็นโปรแกรมประเภทโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ที่ทำกันในสำนักงาน หรือองค์กรขนาดเล็ก ซึ่งสามารถเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูล ออกแบบฟอร์มเก็บข้อมูล ออกแบบแบบสอบถาม (Query) ออกแบบและพิมพ์รายงาน จัดทำเว็บไซต์ในการรับ/ส่ง ข้อมูล (มีถึง ไมโครซอฟท์ แอคเซส รุ่น 2003) และยังสามารถเขียนกลุ่มโปรแกรม (แมโคร และ มอดูล) ของ วิชวลเบสิก เพื่อใช้ในการทำงานได้ และสามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล Microsoft SQL Server ได้ด้วย


การเปรียบเทียบรุ่น กับ รุ่น Suites ต่างๆ

SuitesAs an individual productStarterOffice OnlineHome and Student1Home and Business4StandardProfessionalProfessional Plus
Licensing schemeRetailOEMFreeRetailRetailRetail2and VolumeAcademic and RetailRetail2 and Volume
WordYesStarter editionBasicYesYesYesYesYes
ExcelYesStarter editionBasicYesYesYesYesYes
PowerPointYesViewer (Separate)BasicYesYesYesYesYes
OneNoteYesNoBasicYesYesYesYesYes
OutlookYesNoNoNoYesYesYesYes
PublisherYesNoNoNoNoYesYesYes
AccessYesNoNoNoNoNoYesYes
InfoPathNoNoNoNoNoNoNoYes
LyncYesNoNoNoNoNoNoYes
SharePoint WorkspaceNoNoNoNoNoNoNoYes
ProjectYesNoNoNoNoNoNoNo
VisioYesNoNoNoNoNoNoNo
Office Customization Tool (OCT)3NoNoNoNoNoVolume edition onlyNoVolume edition only

เวอร์ชันต่างๆ ของ ไมโครซอฟท์ แอคเซส

ปี พ.ศ.รุ่นของแอคเซสเลขเวอร์ชันใช้งานได้กับระบบกับระบบปฏิบัติการรวมอยู่ในชุดโปรแกรมไมโครซอฟท์ ออฟฟิศรุ่น
พ.ศ. 2535แอคเซส 1.1
1.0
วินโดวส์ 3.1x
พ.ศ. 2537แอคเซส 2.0
2.0
วินโดวส์ 3.1x, NT 3.1/3.5ออฟฟิศ 4.3
พ.ศ. 2538แอคเซส 7.0 (95)
7.0
วินโดวส์ 95, 98, NT 3.51/4.0ออฟฟิศ 95
พ.ศ. 2539แอคเซส 97
8.0
วินโดวส์ 9x, NT 3.51/4.0ออฟฟิศ 97
พ.ศ. 2542แอคเซส 2000
9.0
วินโดวส์ 9x, NT 4.0, 2000ออฟฟิศ 2000
พ.ศ. 2544แอคเซส 2002
10.0
วินโดวส์ 98, Me, NT 4.0, 2000, XPออฟฟิศ XP
พ.ศ. 2546แอคเซส 2003
11.0
วินโดวส์ 2000, XPออฟฟิศ 2003
พ.ศ. 2550Access logo ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ แอคเซส 2007
12.0
วินโดวส์ XP SP2, วิสตา, 7ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ 2007
พ.ศ. 2553ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ แอคเซส 2010
14.0
วินโดวส์ XP SP3, วิสตา, 7ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ 2010