หน่วยรับข้อมูลทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
โดยข้อมูลอาจส่งผ่านอุปกรณ์รับข้อมูลได้โดยตรง เช่น ผ่านแผงแป้นอักขระ (Keyboard) เมาส์ (Mouse) ปากกาแสง (Light Pen) ก้านควบคุม (Joystick)
เครื่องอ่านรหัสแท่ง
(Bar Code Reader) หรือโดยใช้อุปกรณ์รับข้อมูลอ่านข้อมูลในสื่อข้อมูล
ซึ่งในกรณีนี้ต้องนำข้อมูลมาบันทึกลงสื่อข้อมูลเสียก่อน
ตัวอย่างของอุปกรณ์รับข้อมูลเหล่านี้ ได้แก่ เครื่องขับแผ่นบันทึก (Disk Drive) เครื่องขับเทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape Drive) สำหรับตัวอย่างสื่อข้อมูล ได้แก่ แผ่นบันทึก (Floppy Disk หรือ Diskette) เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) เป็นต้น
โดยอุปกรณ์รับข้อมูลจะเปลี่ยนข้อมูลที่รับเข้ามาให้อยู่ในรูปของรหัส
แล้วส่งไปยังหน่วยความจำเพื่อเตรียมทำการประมวลผลต่อไปอุปกรณ์รับเข้าในปัจจุบันมีหลายประเภท
แต่ละประเภทมีวิธีการในการนำข้อมูลเข้าที่ต่าง ๆ กัน
เราอาจแบ่งประเภทของอุปกรณ์รับเข้าตามลักษณะการรับข้อมูลเข้าได้ดังนี้
วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557
1 แป้นพิมพ์ (keyboard)
เป็นอุปกรณ์รับเข้าพื้นฐานที่ต้องมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะรับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัสเพื่อส่งต่อไปให้กับคอมพิวเตอร์
แป้นพิมพ์ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลจะมีจำนวนตั้งแต่ 50 แป้นขึ้นไป
แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่มีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก
เพื่อทำให้การป้อนข้อมูลตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น การวางตำแหน่งแป้นอักขระ
จะเป็นไปตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีด ที่มีการใช้แป้นยกแคร่ (shift) เพื่อทำให้สามารถใช้พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก
ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต กล่าวคือ
เมื่อมีการกดแป้นพิมพ์ แผงแป้นอักขระจะส่งรหัสขนาด 7 หรือ 8 บิต นี้เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์
เมื่อนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งานพิมพ์ภาษาไทยจึงต้องมีการดัดแปลงแผงแป้นอักขระให้สามารถใช้งานได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย
กลุ่มแป้นที่ใช้พิมพ์ตัวอักษรภาษาไทยจะเป็นกลุ่มแป้นเดียวกับภาษาอังกฤษ
แต่จะใช้แป้นพิเศษแป้นหนึ่งทำหน้าที่สลับเปลี่ยนการพิมพ์ภาษาไทย
หรือภาษาอังกฤษภายใต้การควบคุมของซอฟต์แวร์อีกชั้นหนึ่ง
แผงแป้นอักขระสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็มที่ผลิตออามารุ่นแรก
ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2524
จะเป็นแป้นรวมทั้งหมด 83 แป้น
ซึ่งเรียกว่า แผงแป้นอักขระพีซีเอ็กซ์ที ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 บริษัทไอบีเอ็มได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระ
กำหนดสัญญาณทางไฟฟ้าของแป้นขึ้นใหม่ จัดตำแหน่งและขนาดแป้นให้เหมาะสมดียิ่งขึ้น
โดยมีจำนวนแป้นรวม 84 แป้น เรียกว่า
แผงแป้นอักขระพีซีเอที และในเวลาต่อมาก็ได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระขึ้นพร้อม ๆ
กับการออกเครื่องรุ่น PS/2
โดยใช้สัญญาณทางไฟฟ้า เช่นเดียวกับแผงแป้นอักขระรุ่นเอทีเดิม และเพิ่มจำนวนแป้นอีก
17 แป้น รวมเป็น 101 แป้น
การเลือกซื้อแผงแป้นอักขระควรพิจารณารุ่นใหม่ที่เป็นมาตรฐานและสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่
สำหรับเครื่องขนาดกระเป๋าหิ้วไม่ว่าจะเป็นแล็ปท็อปหรือโน้ตบุ๊ค
ขนาดของแผงแป้นอักขระยังไม่มีการกำหนดมาตรฐาน เพราะผู้ผลิตต้องการพัฒนาให้เครื่องมีขนาดเล็กลงโดยลดจำนวนแป้นลง
แล้วใช้แป้นหลายแป้นพร้อมกันเพื่อทำงานได้เหมือนแป้นเดียว
ชนิดของแป้นพิมพ์
1. แป้นพิมพ์ที่ออกแบบตามหลักการยศาสตร์ (ergonomic keyboard) เป็นแป้นพิมพ์ที่ออกแบบการจัดวางปุ่มกดตามสรีระของมือ
เพื่อช่วยลดอาการเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณข้อมือ ที่เกิดจากการพิมพ์งานเป็นเวลานาน ๆ
รวมทั้งมีปุ่มสำหรับเลือกฟังก์ชันการใช้งานที่ครบถ้วน เช่น
ปุ่มควบคุมระบบมัลติมีเดีย ไม่วจะเป็นการฟังเพลง การเล่นไฟล์วีดิโอต่าง ๆ
สามารถทำได้อย่างสะดวก เป็นต้น
2. แป้นพิมพ์ไร้สาย (cordless keyboard) เป็นแป้นพิมพ์ที่สามารถส่งผ่านข้อมูลโดยเทคโนโลยีไร้สาย
และทำงานโดยใช้พลังงานแบตเตอรี่ ทำให้เกิดความสะดวกในการเคลื่อนย้าย
3. แป้นพิมพ์พกพา (portable
keyboard) เป็นแป้นพิมพ์ที่ออกแบบสำหรับเรื่องพีดีเอ
เนื่องจากการพิมพ์ข้อมูลลงบนแป้นพิมพ์ของเครื่องพีดีเอนั้นไม่สะดวก
เพราะมีแป้นพิมพ์ที่มีขนาดเล็ก จึงมีการสร้างแป้นพิมพ์ที่เหมาะสมกับเครื่องพีดีเอ
ซึ่งสามารถพกพาไปยังที่ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น
4. แป้นพิมพ์เสมือน เป็นแป้นพิมพ์ที่ออกแบบสำหรับใช้ร่วมกับเครื่องพีดีเอเช่นเดียวกันกับแป้นพิมพ์พกพา
แต่ต่างกันตรงที่มีการจำลองภาพให้เป็นเสมือนแป้นพิมพ์จริง
โดยอาศัยการทำงานของแสงเลเซอร์ยิงลงไปบนโต๊ะหรืออุปกรณ์รองรับสัญญาณที่เป็นพื้นผิวเรียบ
เมื่อต้องการใช้งานสามารถพิมพ์หรือป้อนข้อมูลที่เห็นเป็นภาพเหมือนแผงแป้นพิมพ์นั้นเข้าไปได้เลย
ตัวรับแสงในอุปกรณ์จะตรวจจับได้เองว่าผู้ใช้วางนิ้วไหนไปกดตรงตัวอักษรใด
และป้อนข้อมูลตัวอักษรลงในเครื่องได้
2 เมาส์ (Mouse)
Mouse จัดเป็น Input Device ประเภทหนึ่งซึ่งข้อมูลที่ป้อน เข้าไป
จะเป็นตำแหน่งและการ กด Mouse Mouse มีอยู่ด้วยกัน
หลายประเภท ได้แก่
• Mouse แบบปกติที่พบเห็นทั่วไปอาจจะมี
2 ปุ่ม หรือ 3 ปุ่ม
• Mouse แบบไร้สาย (Wireless) ซึ่งจะใช้ สัญญาณวิทยุโดย Mouse เป็นตัวส่งสัญญาณ และมีตัวรับสัญญาณ
ที่ต่อกับเครื่องคอม
• Mouse แสง (Optical Mouse) เป็น Mouse ที่ไม่มีลูกกลิ้งที่ฐาน
Mouse โดยใช้การอ่านค่าจากการ
สะท้อนของแสงที่สัมผัสกับพื้นผิว
• Scroll Mouse เป็น Mouse ที่มี Scroll ไว้เพื่อใช้เลื่อน
Scroll Bar ในโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ เช่น Internet
Explorer นอกจาก Mouse แล้วยังมีอุปกรณ์อีก
ประเภทที่เรียกว่า Track Ball ซึ่งจะมีลักษณะคล้าย
Mouse แต่ จะมี Ball อยู่ด้านบนแทนที่จะอยู่ด้านล่าง
และเลื่อน Pointer โดยการ ใช้
นิ้วมือกลิ้งไปบน Ball
นอกจากเมาส์แล้วยังมีอุปกรณ์ที่มีการทำงานคล้ายเมาส์
ดังนี้
1. ลูกกลมควบคุม (track
ball) เป็นอุปกรณ์ที่มีลูกบอลขนาดเล็กวางอยู่ด้านบน
ผู้ใช้สามารถบังคับลูกบอลให้หมุนไปมาเพื่อควบคุมตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ
นิยมสร้างไว้กับเครื่องโน้ตบุ๊ก เพราะสะดวกต่อการใช้งาน และใช้พื้นที่น้อย
2. แท่งชี้ควบคุม (track
point) เป็นแท่งพลาสติกเล็ก ๆ อยู่ตรงกลางแป้นพิมพ์ ผู้ใช้บังคับแท่งชี้ควบคุมโดยใช้นิ้วหัวแม่มือเลื่อน
เพื่อเลื่อนตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพได้
3. แผ่นรองสัมผัส (touch
pad) เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมที่วางอยู่หน้าแป้นพิมพ์ของเครื่องโน้ตบุ๊ก
ผู้ใช้สามารถใช้นิ้ววาดเพื่อเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพได้
4. จอยสติ๊ก (joustick) จะเป็นก้านสำหรับใช้โยกขึ้น-ลง-ซ้าย-ขวา
เพื่อย้ายตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ และมีแป้นกดสำหรับสั่งงานพิเศษ
นิยมใช้กับการเล่นเกมคอมพิวเตอร์หรือควบคุมหุ่นยนต์
5. จอสัมผัส (touch screen) ผู้ใช้เพียงสัมผัสนิ้วลงบนจอภาพในตำแหน่งที่กำหนดไว้เพื่อเลือกการทำงาน
หลักการนี้นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
เพื่อช่วยให้ผู้ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่คล่องสามารถเลือกใช้โปรแกรมต้องการได้อย่างรวดเร็ว
6.
ปากกาแสง (light pen) เป็นอุปกรณ์ที่มีความไวต่อแสง
โดยปากกาจะเป็นตัวกำหนดตำแหน่งบนจอภาพ
รวมทั้งสามารถใช้วาดลักษณะหรือรูปแบบของข้อมูลให้ปรากฏบนจอภาพ
3 สแกนเนอร์ (scanner)
สแกนเนอร์
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้หลักการของการส่องแสงไปยังข้อความ สัญลักษณ์ หรือภาพ
ที่ต้องการทำสำเนาภาพ จากนั้นข้อมูลที่ถูกอ่านจะถูกแปลงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า
และเก็บเป็นไฟล์ภาพ สแกนเนอร์ มี 3 ประเภท คือ
1.
สแกนเนอร์มือถือ เป็นสแกนเนอร์ที่มีขนาดเล็ก
สามารถถือและพกพาติดตัวได้สะดวก การใช้สแกนเนอร์มือถือนี้
ผู้ใช้ต้องถือตัวสแกนเนอร์เลื่อนผ่านบนภาพหรือเอกสารต้นฉบับที่ต้องการ
2.
สแกนเนอร์แบบสอดกระดาษ (sheetfed scanner) เป็นสแกนเนอร์ที่ผู้ใช้ต้องสอดภาพหรือเอกสารเข้าไปยังช่องสำหรับอ่านข้อมูล
เครื่องชนิดนี้จะเหมาะสำหรับการอ่านเอกสารที่เป็นแผ่น ๆ
แต่ไม่สามารถอ่านเอกสารที่เย็บเป็นเล่มได้
3.
สแกนเนอร์แบบแท่น (flatbed scanner) เป็นสแกนเนอร์ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน
โดยการวางกระดาษเอกสารต้นฉบับที่ต้องการไปบนเครื่องสแกนเนอร์ ทำให้ใช้งานได้ง่าย
4 อุปกรณ์จับภาพ
อุปกรณ์จับภาพ (image capturing devices) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บภาพต้นฉบับในรูปดิจิตอล
อุปกรณ์จับภาพมี 2 ชนิด ดังนี้
1.
กล้องถ่ายภาพดิจิตอล (digital camera) มีรูปร่างและการทำงานคล้ายกล้องถ่ายภาพ
แต่ภาพนิ่งที่ได้จากกล้องดิจิตอลจะเป็นไฟล์ในหน่วยความจำของกล้องแทนฟิล์ม
ซึ่งผู้ใช้สามารถดูภาพจากกล้องได้ทันที
2.
กล้องถ่ายวีดิโอดิจิตอล (digital video camera) มีรูปร่างการทำงานคล้ายกล้องวีดิโอ
แต่ภาพเคลื่อนไหวที่ได้จากกล้องวีดิโอดิจิตอลจะเป็นไฟล์ในหน่วยความจำของกล้องแทนฟิล์ม
นอกจากนี้กล้องถ่ายวีดิโอดิจิตอล ยังสามารถจับภาพนิ่งได้ด้วย
5 อุปกรณ์รับเสียง
อุปกรณ์รับเสียง (audio-input devices) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลเสียงทั้งเสียงพูด
เสียงเพลง และเสียงอื่น ๆ จากนั้นอุปกรณ์จะแปลงสัญญาณเสียงที่มนุษย์เข้าใจให้อยู่ในรูปสัญญาณไฟฟ้าที่คอมพิวเตอร์นำไปประมวลผลได้
อุปกรณ์รับเสียงที่นิยมใช้ ได้แก่ ไมโครโฟน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)